Author: CH

ทำไมเราต้องทำ AD OPTIMIZATION บ่อยๆ

การทำ ad optimization ไม่ได้แปลว่าเอเจอซี่ซื้อ ad ไม่ดี หรือมีความผิดพลาดคำว่า optimization มีความหมายว่าทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทำให้ได้ผลดีที่สุด และการที่เอเจนซี่มีการ optimize ระหว่างแคมเปญ ก็จะทำให้แคมเปญลูกค้าได้ผลลัพธ์ดีที่สุดด้วยการทำ Ad Optimization ไม่มีกฎตายตัว มันคือการลองขั้นตอนแรกคือ ‘testing phase’  ปล่อยโฆษณาออกไปลองก่อน ว่าโฆษณาชิ้นใด หรือ placement ไหนได้ผลดีที่สุดขั้นที่สอง เราจึงทำ ad optimization ได้ เช่นการย้ายงบจากโฆษณาได้ performance ไม่ดี มาซื้อโฆษณาที่ performดีเพิ่ม, หรืออาจจะเป็นการเปลี่ยนรูปภาพหรือข้อความบนโฆษณาเพื่อดึงดูดเพิ่มขึ้นก็ได้การทำ Ad Optimization ทำอะไรได้บ้างเราจะต้องหาทางยิงแอดให้ถูกที่สุด หรือได้ cost per ต่ำที่สุด ที่จะทำให้ลูกค้าประหยัดเงิน และส่งเมสเสจที่ต้องการโฆษณาไปถึงผู้บริโภคได้ การทำ optimization

เมื่อรู้ว่าตอนนี้เป็นยุค COOKIELESS แล้ว คุณต้องทำอะไรต่อไป

EDUCATE –  คนในองค์กร ว่าตอนนี้โลกโฆษณาดิจิตอลเปลี่ยนไปถึงไหนแล้ว และจะเกิดผลกระทบอะไรได้บ้าง การยิงโฆษณาจะไม่ได้ผลเหมือนเคย ยอดขายอาจตกลง งบโฆษณาสูงขึ้น COLLECT –  เริ่มเก็บ first-party data ทันที เพราะถ้าคุณไม่มีดาต้าของตัวเอง แล้วthird party data ก็ไม่มีให้ใช้ ธุรกิจของคุณจะทำอย่างไง SEGMENT –  กลุ่มลูกค้า  แบ่งกลุ่มลูกค้าจากดาต้าที่คุณมี เพราะถ้าคุณไม่แยก การยิงโฆษณา retarget ของคุณก็จะไม่สามารถ personalizeได้ และจะมีแต่โฆษณาซ้ำเดิม ไม่ตรงใจความต้องการของลูกค้าแต่ละคน EVALUATE – ดาต้าที่คุณมี ถ้าบริษัทคุณมีดาต้าอยู่แล้วลองประเมินดูว่าเป็นดาต้าที่มีคุณภาพ และสามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ Source: seerinteractive.com

GDPR คืออะไร

GDPR ย่อมาจาก General Data Protection Regulation เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายนี้มีผลบังคับต่อทุกธุรกิจในโลกสำหรับพลเมืองยุโรปและยังมีผลบังคับใช้กับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย ไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทของประเทศยุโรปเท่านั้น และยังมีผลบังคับใช้กับบริษัทขนาดเล็กหรือ SME (มีพนักงานน้อยกว่า 250 คน)ด้วย ความสำคัญของกฎหมายGDPR คือการขอรับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในการที่จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ถ้าหากจะทำการใด ๆ กับเจ้าของข้อมูล จะต้องได้รับการอนุญาตก่อน โดยข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้น สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่มีทางรั่วไหลแน่นอน ซึ่งแปลว่าทุกการเก็บข้อมูลจะต้องได้รับ ‘consent’ จากผู้ใช้งานก่อน โดยมีเงื่อนไขชัดเจนว่าจะนำข้อมูลไปใช้อะไรบ้าง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ว่าคืออะไรบ้าง? GDPR ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาที่ระบุตัวตนได้ เช่น – ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขประกันสังคม – ข้อมูลทางกายภาพ เช่น สีผม เชื้อชาติและส่วนสูง – ประวัติการศึกษาและการทำงาน เช่น ระดับเกรดเฉลี่ย ระดับเงินเดือน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี – ข้อมูลทางการแพทย์ และพันธุกรรม – ประวัติการโทร หรือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมายที่สามารถระบุตัวตนได้ บทลงโทษGDPR บทลงโทษGDPR

รถยนต์ยอดจองล้น ประสบความสำเร็จอีกครั้งปีนี้

ใช้ BIG DATA ทำให้ ALWAYS ON คอนเท้นท์มีประสิทธิภาพมากขึ้น รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น จะมีคนลงทะเบียน test drive สูงในช่วงที่จัดแคมเปญการตลาด แต่เมื่อแคมเปญจบคนที่มาลงทะเบียนก็หายไปด้วย ความท้าทายของโจทย์รถยนต์ ในครั้งนี้ก็คือ เราจะทำยังไงให้มีคนสนใจรถยนต์ และมีการลงทะเบียน test drive สม่ำเสมอ ไม่ต้องรอเฉพาะช่วงที่มีจัดแคมเปญพิเศษเท่านั้นซึ่งทางเจ้าของสินค้าเอง ก็มีการเก็บดาต้าลูกค้าในจุดต่างๆอยู่แล้ว เช่นเก็บเมื่อเข้าชมเว็บ หรือเมื่อไปทำการ test drive จริง แต่ไม่เคยเอาดาต้าทุกอย่างมารวมกันให้เป็นก้อนเดียว หมายความว่าดาต้ากระจัดกระจายกันหมด ไม่เคยรู้ว่า คนที่มาลงทะเบียนไป test drive จริงหรือไม่  หรือเมื่อไป test drive แล้วซื้อรถจริงมั้ย โดยเราจะใช้ Big Data เข้ามาเป็น Solution ในการแก้ปัญหาโจทย์นี้  ที่รวมดาต้าจากทุก consumer touchpoint ของเพื่อสร้าง journey

ขอ CONSENT ยังไงให้ถูก GDPR

เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมาย GDPR ออกมา ธุรกิจ, แบรนด์หรือเอเจนซี่ที่ใช้ประโยชน์จากดาต้าผู้ใช้งาน จะต้องระวังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเก็บดาต้ามาอย่างไม่ถูกวิธี อาจจะผิดกฎหมาย เป็นคดีไปถึงการขึ้นโรงขึ้นศาลและทำให้โดนปรับเป็นจำนวนเงินมหาศาลได้ คุณอาจจะเคยต้องกดยินยอมให้ข้อมูลการใช้งานกับเว็บไซต์ต่างๆ จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขที่เขียนมาส่วนใหญ่จะค่อนข้างคลุมเครือและไม่ชัดเจน เขียนทุกอย่างรวมๆกันทั้งนโยบายบริษัท นโยบายการร่วมกิจกรรม กติกาอื่นๆ รวมกันในข้อเดียวทั้งหมดเพื่อให้ผู้ใช้งานสับสน แต่ตอนนี้กฎหมาย GDPR ทำให้การขอ consent รัดกุมเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้งานมากกว่าเดิม การขอ consent ที่ถูกต้องทำอย่างไร? – ต้องเขียนเงื่อนไขอย่างชัดเจนและละเอียด ว่าจะนำดาต้าผู้ใช้งานไปใช้ทำอะไรบ้าง ไม่สามารถเขียนแบบรวบรัด คลุมเครือได้อีกแล้ว – ถ้ามีเงื่อนไขอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการขอ consent ต้องเขียนแยกอย่างชัดเจน – กล่องเครื่องหมายยินยอมให้consent ต้องไม่มีการติ๊กไว้ก่อน ผู้ใช้งานต้องเป็นผู้กดเลือกด้วยตนเอง ถ้าบริษัทของคุณเคยเก็บดาต้ามาก่อนกฎหมาย GDPR จะบังคับใช้ และไม่มั่นใจว่าดาต้าชุดนั้นถูกกฎหมายหรือไม่ สามารถรับคำปรึกษาเบื้องต้นได้

SME ต้องมีระบบ DATA ไหม

ทุกธุรกิจควรมีดาต้าเป็นของตัวเอง และดาต้าก็คือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดในบริษัท 1 ทำให้เข้าใจลูกค้า  – สิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือการเข้าใจลูกค้าและตลาดที่คุณอยู่ ยิ่งคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็กยิ่งมีงบในการยิงโฆษณาน้อย การมีดาต้าแล้วยิงให้ตรงทาเก็ตจะทำให้เร่งยอดขายได้ 2 ราคาต่อหัวของลูกค้าถูกลง (Cost per Client) คุณกำลังคุยกับลูกค้าถูกคนหรือไม่ ทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายค่ายิงโฆษณาไปควรจะกลายเป็นยอดขายได้ทั้งหมด การที่เรายิงโฆษณาหาลูกค้าที่ถูกคน (คนที่ต้องการสินค้าอยู่แล้ว หรือมีโอกาสอยากได้สินค้า) ก็จะทำให้ cost per lead ถูกลง ไม่ต้องเสียเวลาไปคุยกับคนมากมายที่ไม่เคยสนใจสินค้าของคุณเลย และการใช้ Data มาวิเคราะห์จะทำให้คุณรู้ว่าจะต้องใช้เงินกี่บาท เพื่อทำให้ลูกค้าแต่ละรายมาซื้อสินค้า หลังจากนั้นคุณสามารถทำการ optimize เพื่อให้ cost ถูกลงได้อีก 3 รู้ความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงของปี สินค้าบางชนิดก็ขายดีมากในบางเดือน สินค้าบางอย่างก็มีความต้องการมากในบางฤดู การเก็บดาต้าผู้ใช้งานมา ทำให้เรราเอามาวิเคราะห์เพื่อหาความต้องการนั้นๆได้  หรืออาจจะวิเคราะห์ควบคู่กับ search trend, search keywords เพื่อให้ผลลัพธ์แม่นยำยิ่งขึ้น บริษัท SME ที่มีทุนน้อยและโกดังขนาดเล็กที่ไม่สามารถสต็อคสินค้าทีละมากๆได้ ก็สามารถวางแผนการนำเข้าหรือผลิตสินค้าได้แม่นยำมากขึ้น การใช้ดาต้าทำให้คุณปรับปรุงสินค้าและบริการได้ทันท่วงที ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือการยิงโฆษณาที่ไม่เกิดรายได้ทิ้งไป และยังทำให้การสื่อวารกับลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ทำไม DATA จึงสำคัญมากในธุรกิจ

ดาต้าทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจดีขั้น บริษัทไหนก็มีดาต้าเป็นของตัวเองได้ เพียงแค่มีเว็บไซต์,แอปพลิเคชั่น หรือมีระบบpayment ก็สามารถเก็บดาต้าลูกค้าได้แล้ว เช่น ข้อมูลบุคคลต่างๆ, พฤติกรรมการซื้อ, พฤติกรรมผู้ใช้, การเข้ามาใช้งานเว็บ อ่านคอนเท้นท์อะไรไปบ้าง  ทุกๆดาต้าที่เก็บมาได้ ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น อยู่ที่เราจะเอามาใช้เป็นหรือไม่ มีหลายปัจจัยมากที่เราจะเอามาวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจ ทั้งเรื่องภายในตัวองค์กรเอง ข่าวสารโลก แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์เท่าดาต้าที่คุณเก็บมาจากลูกค้าโดยตรงของคุณเองหรอก หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกใช้ดาต้าทำอะไรบ้าง? – หากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ – เพิ่มจำนวนการกลับมาซื้อซ้ำ – ปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น – คาดการณ์เทรนด์สินค้าและจำนวนการซื้อ และดาต้ายังทำให้รู้อีกว่าการลงเงินที่จุดไหนของธุรกิจถึงจะได้ผลลัพธ์ดีที่สุด เช่นการยิงโฆษณาไปที่ลูกค้ากลุ่มนี้ทำให้เกิดการซื้อสินค้าทันที ในขณะที่ลูกค้าอีกกลุ่มต้องเห็นโฆษณาถึง3ครั้งจึงจะซื้อสินค้า ดาต้าจึงเป็นส่วนสำคัญทางการเงินของแบรนด์ด้วย Source: grow.com

How Air france save their business during Covid-19

ช่วง COVID-19 ที่คนไม่บิน ทำให้ธุรกิจต้องประหยัดทุกอย่าง ต้องประหยัดเงินให้ได้มากที่สุด การทำการตลาดแบบ retargeting จึงสำคัญที่สุด แต่เราจะไม่ยิงหว่าน เราจะรอจนเห็นสัญญาณความสนใจบางอย่างจากลูกค้า เราก็จะรู้ว่าเมื่อไหร่เราควรยิงแอด เช่นเห็นว่าเค้าเสิร์ชเรื่องตั๋ว,  อยากบินแล้ว เราก็เสนอรูทที่เปิดบิน ที่เที่ยวได้จริงในช่วงโควิด เราก็ให้ voucher ไปเลย ให้ตัวเลือกว่าจะบินไปไหนได้บ้างในช่วงโควิดจัดการทีมอย่างไร หรือเปลี่ยนการทำงานอย่างไรบ้างในช่วงโควิด?ตอนสถานการณ์ปกติ เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องวางแผนการทำงานอย่างไร แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มีโควิดเกิดขึ้น เราก็ต้องเปลี่ยนด้วย อย่างยอดจอง first class, business class หายไปเยอะ โปรโมชั่นที่เคยขายดีมาก เช่น บิน premium economy กับ Air France จะได้เชมเปญ ก็อาจจะไม่จูงใจลูกค้าแล้ว เพราะคนจะบินไปใกล้ๆมากกว่า เช่นตอนใต้ของฝรั่งเศส โปรโมชั่นที่เคยได้ผลก็ไม่ได้ผล เราจึงต้องใช้ระบบดิจิตอลและดาต้าเข้ามาช่วย The future

4 Types of consumer data

1 Personal Data ข้อมูลส่วนตัวที่ระบุตัวตนได้  - ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขประกันสังคม - ประวัติการศึกษาและการทำงาน เช่น ระดับเกรดเฉลี่ย ระดับเงินเดือน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี - ข้อมูลทางการแพทย์ และพันธุกรรม - ประวัติการโทร หรือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมายที่สามารถระบุตัวตนได้ ‘’นักการตลาดส่วนใหญ่ ที่มีข้อมูลลูกค้าเก็บไว้ มักลำดับความสำคัญของข้อมูลที่ตนมีไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์กับสิ่งที่มีให้เต็มที่ ทั้งที่มีโอกาสเพิ่มยอดขายได้อย่างง่ายๆ ’’ 2 Engagement Data ข้อมูลของผู้ใช้งานที่มาเกี่ยวข้องกับแบรนด์ - การเข้าชมและคลิกบนเว็บไซต์, แอพพลิเคชั่น - อีเมล์ และ  email subscription - สื่อโฆษณา 3 Behavioral Data ดาต้าพฤติกรรมการใช้สินค้าและบริการ - ข้อมูลการใช้จ่าย เช่นประวัติการซื้อ - ประวัติการใช้สินค้าหรือบริการ - ข้อมูลการซื้อสินค้าซ้ำ 4. Attitudinal Data ดาต้าความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ - ลูกค้ามีความพอใจสินค้าและบริการมากแค่ไหน - ความต้องการสินค้าและบรการของแบรนด์มีมากแค่ไหน การตลาดสมัยใหม่ มักมีการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สุงที่สุด ข้อมูลจะถูกนำมาคำนวณเพื่อศึกษาพฤติกรรมและทำนายพฤติกรรมในอนาคต ข้อมูลที่ได้มาจะนำมาจำลองเงื่อนไขเฉพาะบุคคลและ มีการผนวกกับกลยุทธ์

The disruption from cookieless era

เมื่อยุค third party data หรือยุคคุกกี้ กำลังจะจบลง ความสำคัญของ first party data เลยมีมากขึ้น ยักษ์ใหญ่ในวงการเทคเช่นพวก Apple, Amazon, Facebook, Google ที่มี first party data อยู่ในมือเยอะอยู่แล้ว จึงไม่กระทบอะไรมาก แต่แบรนด์เล็กๆ ล่ะ? ทำไม third party data หรือคุกกี้ถึงหายไป? ตั้งแต่ปี 2017, เราจะได้ยินเรื่อง GDPR ที่  internet browsers ต่างๆ ออกมาประกาศเลิกใช้ first party data กัน, Safari เลิกใช้ในปี 2017, Firefox เลิกใช้ในปี