.Trending

ทำไมผู้บริโภคจำเป็นต้องเปิดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลบ้าง

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดูจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลในเรื่องนี้ค่อนข้างสูงมากในช่วงที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิถีชีวิตปัจจุบันหลีกเลี่ยงแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ไม่ได้ และก็จำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลบางส่วนไปด้วย จึงเกิดการถกเถียงว่า การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทไอทีต่างๆ นั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ล่าสุด ยังนำมาซึ่งความขัดแย้งเป็นดราม่าร้อนระดับโลก ระหว่าง Apple และ Facebook ซึ่งเกิดขึ้นจากระบบปฏิบัติการ iOS14 ของ Apple ซึ่งเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy ของผู้ใช้ iPhone และ iPad ให้เลือกตั้งค่าเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโฆษณาบนสมาร์ตโฟนที่จะถูกส่งไปยังดีไวซ์ต่างๆ โดยนักโฆษณาและผู้ที่ทำ Targeted Ads จะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เต็มๆ เมื่อกรณีนี้มีผลกับนักการตลาดและนักโฆษณาเราจึงอยากนำเสนออีกมุมมองความเห็นเกี่ยวกับประเด็นร้อนนี้ ว่าจริงๆ แล้วผลจากการปิดกั้นข้อมูลส่วนบุคคลทำให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อตัวผู้บริโภคกันแน่ โดยผู้ที่คร่ำหวดในวงการดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งและแอดเวอร์ไทซิ่งแถวหน้าของเมืองไทย คุณสหรัฐ สวัสดิ์อธิคม Creative Chairman and Founder และ

FIRST, SECOND, THIRD PARTY DATA คืออะไร

First Party Data คือดาต้าที่บริษัทหรือแบรนด์เป็นเจ้าของเอง และแบรนด์เก็บมาจากลูกค้าโดยตรง ดาต้าCRM จากผู้ซื้อสินค้า ดาต้าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของแบรนด์ ดาต้าจากผู้ subscribe email ดาต้าจากการทำแบบสำรวจ Second Party Data เป็นดาต้าที่เราไม่ได้เก็บมาเองโดยตรง อาจจะเป็นดาต้าที่ไปขอใช้งานจากบริษัทอื่น หรือดาต้าที่ไปซื้อต่อมาก็ได้ เช่น บริษัทประกันขายดาต้าให้บริษัทบัตรเครดิต เป็นต้น Third Party Data เป็นข้อมูลจากหลายแหล่ง เป็นการเก็บข้อมูลอย่างกว้างๆ เช่น Demographic, location, interest เป็นข้อมูลที่เปิดให้ใครเข้าไปใช้ได้เลย แต่ก็เป็นเพียงข้อมูลกว้างๆ และไม่ได้มีความแม่นยำมาก อย่างที่เราคุ้นเคยกันก็คือข้อมูลจาก social media ต่างๆ เช่น  Facebook เป็นต้น Source: hubspot.com Photo credit: Lotame

GDPR คืออะไร

GDPR ย่อมาจาก General Data Protection Regulation เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายนี้มีผลบังคับต่อทุกธุรกิจในโลกสำหรับพลเมืองยุโรปและยังมีผลบังคับใช้กับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย ไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทของประเทศยุโรปเท่านั้น และยังมีผลบังคับใช้กับบริษัทขนาดเล็กหรือ SME (มีพนักงานน้อยกว่า 250 คน)ด้วย ความสำคัญของกฎหมายGDPR คือการขอรับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในการที่จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ถ้าหากจะทำการใด ๆ กับเจ้าของข้อมูล จะต้องได้รับการอนุญาตก่อน โดยข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้น สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่มีทางรั่วไหลแน่นอน ซึ่งแปลว่าทุกการเก็บข้อมูลจะต้องได้รับ ‘consent’ จากผู้ใช้งานก่อน โดยมีเงื่อนไขชัดเจนว่าจะนำข้อมูลไปใช้อะไรบ้าง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ว่าคืออะไรบ้าง? GDPR ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาที่ระบุตัวตนได้ เช่น – ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขประกันสังคม – ข้อมูลทางกายภาพ เช่น สีผม เชื้อชาติและส่วนสูง – ประวัติการศึกษาและการทำงาน เช่น ระดับเกรดเฉลี่ย ระดับเงินเดือน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี – ข้อมูลทางการแพทย์ และพันธุกรรม – ประวัติการโทร หรือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมายที่สามารถระบุตัวตนได้ บทลงโทษGDPR บทลงโทษGDPR

ทำไม DATA จึงสำคัญมากในธุรกิจ

ดาต้าทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจดีขั้น บริษัทไหนก็มีดาต้าเป็นของตัวเองได้ เพียงแค่มีเว็บไซต์,แอปพลิเคชั่น หรือมีระบบpayment ก็สามารถเก็บดาต้าลูกค้าได้แล้ว เช่น ข้อมูลบุคคลต่างๆ, พฤติกรรมการซื้อ, พฤติกรรมผู้ใช้, การเข้ามาใช้งานเว็บ อ่านคอนเท้นท์อะไรไปบ้าง  ทุกๆดาต้าที่เก็บมาได้ ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น อยู่ที่เราจะเอามาใช้เป็นหรือไม่ มีหลายปัจจัยมากที่เราจะเอามาวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจ ทั้งเรื่องภายในตัวองค์กรเอง ข่าวสารโลก แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์เท่าดาต้าที่คุณเก็บมาจากลูกค้าโดยตรงของคุณเองหรอก หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกใช้ดาต้าทำอะไรบ้าง? – หากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ – เพิ่มจำนวนการกลับมาซื้อซ้ำ – ปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น – คาดการณ์เทรนด์สินค้าและจำนวนการซื้อ และดาต้ายังทำให้รู้อีกว่าการลงเงินที่จุดไหนของธุรกิจถึงจะได้ผลลัพธ์ดีที่สุด เช่นการยิงโฆษณาไปที่ลูกค้ากลุ่มนี้ทำให้เกิดการซื้อสินค้าทันที ในขณะที่ลูกค้าอีกกลุ่มต้องเห็นโฆษณาถึง3ครั้งจึงจะซื้อสินค้า ดาต้าจึงเป็นส่วนสำคัญทางการเงินของแบรนด์ด้วย Source: grow.com