Author: waan

//First, Second, Third Party Data คืออะไร?

First Party Data คือดาต้าที่บริษัทหรือแบรนด์เป็นเจ้าของเอง และแบรนด์เก็บมาจากลูกค้าโดยตรง ดาต้าCRM จากผู้ซื้อสินค้าดาต้าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของแบรนด์ดาต้าจากผู้ subscribe emailดาต้าจากการทำแบบสำรวจ Second Party Data เป็นดาต้าที่เราไม่ได้เก็บมาเองโดยตรง อาจจะเป็นดาต้าที่ไปขอใช้งานจากบริษัทอื่น หรือดาต้าที่ไปซื้อต่อมาก็ได้ เช่น บริษัทประกันขายดาต้าให้บริษัทบัตรเครดิต เป็นต้น Third Party Data เป็นข้อมูลจากหลายแหล่ง เป็นการเก็บข้อมูลอย่างกว้างๆ เช่น Demographic, location, interest เป็นข้อมูลที่เปิดให้ใครเข้าไปใช้ได้เลย แต่ก็เป็นเพียงข้อมูลกว้างๆ และไม่ได้มีความแม่นยำมาก อย่างที่เราคุ้นเคยกันก็คือข้อมูลจาก social media ต่างๆ เช่น  Facebook เป็นต้น Source: hubspot.com Photo credit: Lotame

//การเตรียมตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวงการดิจิตอล ‘ในยุค Cookieless’

เมื่อยุค third party data หรือยุคคุกกี้ กำลังจะจบลง ความสำคัญของ first party data เลยมีมากขึ้น ยักษ์ใหญ่ในวงการเทคเช่นพวก Apple, Amazon, Facebook, Google ที่มี first party data อยู่ในมือเยอะอยู่แล้ว จึงไม่กระทบอะไรมาก แต่แบรนด์เล็กๆล่ะ? ทำไม third party data หรือคุกกี้ถึงหายไป? ตั้งแต่ปี 2017, เราจะได้ยินเรื่อง GDPR ที่ internet browsers ต่างๆออกมาประกาศเลิกใช้ first party data กัน; Safari เลิกใช้ในปี 2017, Firefox เลิกใช้ในปี 2019 และ Chrome ที่มีคนใช้มากกว่า60% ทั่วโลก เลิกใช้ในปี 2021 เมื่อ browser ต่างๆ ยกเลิกการเก็บคุกกี้ มันจะทำให้การเก็บ journey ของผู้ใช้งานยากขึ้น เลยเกิดผลกระทบในวงการโฆษณาดิจิตอลอย่างมาก เช่นการเก็บ impression ไม่สามารถทำได้ จากข้อมูล, ผู้ใช้งานต้องได้เห็นโฆษณาในช่องทางที่แตกต่างกันซ้ำๆ ถึงจะเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ แต่พอไม่สามารถติดตามพฤติกรรมผู้ใช้งานจากคุกกี้ได้ จึงไม่สามารถนำดาต้ามาวิเคราะห์และยิงโฆษณาอย่างตรงกลุ่มทาเก็ตได้ การไม่มีคุกกี้ส่งผลกระทบในการทำ digital marketing 3 อย่าง 1. เสียเงินฟรี : เพราะเก็บคุกกี้ไม่ได้ว่าผู้ใช้งานซื้อสินค้านี้แล้วหรือยัง ทำให้เกิดการยิงโฆษณาซ้ำไปที่ผู้ใช้งานคนเดิมๆ 2. พลาดโอกาสการขาย : เพราะเก็บคุกกี้ไม่ได้ว่าผู้ใช้งานคนใดกำลังสนใจสินค้าของเราอยู่ ทำให้เสียโอกาสการขายทั้งที่ผู้ใช้งานที่พร้อมจ่ายเงินซื้อสินค้าเราทันที 3. ไม่รู้ว่าใครซื้อสินค้าไป: จากการยิงโฆษณาไปแล้วเราเก็บข้อมูลไม่ได้ว่าผู้ใช้งานคลิกแบนเนอร์ไปซื้อสินค้าต่อ ทำให้เราประมาณงบการยิงโฆษณาไม่ได้ แล้วนักโฆษณาต้องทำไรต่อไป? เราคงต้องไม่พึ่ง third party data หรือคุกกี้แล้ว แต่เก็บข้อมูลลูกค้าเอง หรือที่เราเรียกกันว่า first party data สร้างเว็บไวต์หรือแอพพลิเคชั่นเพื่อเก็บดาต้าเอง อันนี้เราอาจจะต้องใช้creativityสักหน่อย

//CJ WORX จับมือ RELAY42 เป็น OFFICIAL PARTNER ของไทย เปิดตลาด DMP ที่ประมวลผล DATA ทุกชนิดแบบ REAL TIME

ปรากฏการณ์อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อผู้นำด้านความคิดสร้างสรรค์ของไทยอย่าง CJ WORX จับมือกับสุดยอดเทคโนโลยีด้านข้อมูลชั้นนำของโลกของ RELAY42 จากเนเธอร์แลนด์ ได้ผนึกกำลังเป็น OFFICIAL PARTNER อย่างเป็นทางการ แบรนด์ไหนก็พูดถึงแต่ DATA หาเทคโนโลยีตัวช่วยอย่าง DMP ที่เสมือนถังรวบรวม DATA ทุกช่องทางมาวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับแบรนด์ ซึ่งถ้าวันนี้แบรนด์ไม่ลุกขึ้นมาทำ DATA ไม่ว่าจะเก็บข้อมูล หรือใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเหล่านั้น ก็จะถูก DISRUPT อาจถึงขั้นทำให้แบรนด์ไม่มีที่พื้นที่ในอนาคต!!! ทำไมต้องเป็น RELAY42  “แต่ละปีจะไปศึกษาดูงานต่างประเทศเพื่ออัปเดตเทรนด์ความรู้ต่างๆ จนมีงานด้าน DATA ของสหรัฐอเมริกา เราเป็นผู้หญิง 2 คนจากเอเจนซีในประเทศไทยเข้าไปร่วมงานนี้ ซึ่งต่างชาติก็งงว่าเป็นเอเจนซีและจากประเทศไทยด้วย ทำไมถึงมาสนใจอะไรแบบนี้ เพราะธุรกิจอื่นที่เข้าร่วมงานจะเป็นอุตสาหกรรมการเงิน ยานยนต์ และ RETAIL ต่างๆ แต่ส่วนตัวเห็นว่ามันคือ สิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต ไม่เฉพาะเพียงเอเจนซีเราเท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากระดับประเทศไทยเลยทีเดียว เพราะทุกวงการพูดถึง DATA แต่ถ้าเราไม่รู้จักเลือกใช้ DATA จาก

//Case Study: Air France เตรียมตัวรับมือในยุคcookieless อย่างไร

ช่วง COVID-19 ที่คนไม่บิน ทำให้ธุรกิจต้องประหยัดทุกอย่าง ต้องประหยัดเงินให้ได้มากที่สุด การทำการตลาดแบบ retargeting จึงสำคัญที่สุด แต่เราจะไม่ยิงหว่าน เราจะรอจนเห็นสัญญาณความสนใจบางอย่างจากลูกค้า เราก็จะรู้ว่าเมื่อไหร่เราควรยิงแอด เช่นเห็นว่าเค้าเสิร์ชเรื่องตั๋ว,  อยากบินแล้ว เราก็เสนอรูทที่เปิดบิน ที่เที่ยวได้จริงในช่วงโควิด เราก็ให้ voucher ไปเลย ให้ตัวเลือกว่าจะบินไปไหนได้บ้างในช่วงโควิด จัดการทีมอย่างไร หรือเปลี่ยนการทำงานอย่างไรบ้างในช่วงโควิด? ตอนสถานการณ์ปกติ เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องวางแผนการทำงานอย่างไร แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มีโควิดเกิดขึ้น เราก็ต้องเปลี่ยนด้วย อย่างยอดจอง first class, business class หายไปเยอะ โปรโมชั่นที่เคยขายดีมาก เช่น บิน premium economy กับ Air Franceจะได้เชมเปญ ก็อาจจะไม่จูงใจลูกค้าแล้ว เพราะคนจะบินไปใกล้ๆมากกว่า เช่นตอนใต้ของฝรั่งเศส โปรโมชั่นที่เคยได้ผลก็ไม่ได้ผล เราจึงต้องใช้ระบบดิจิตอลและดาต้าเข้ามาช่วย The future customer journey จัดการกับลูกค้าอย่างไร เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เมื่อเอาดาต้ามาดู จะเห็นว่าช่วงโควิดมีลูกค้าคืนตั๋วเยอะมาก แล้วยังมี refund voucher ที่ต้องใช้อยู่ เราเอาดาต้าข้อมูลลูกค้าที่เรามีมาวิเคราะห์ เพื่อส่งอีเมล์ personalized message ไปoffer flight สถานที่ที่ลูกค้าน่าจะชอบได้ เมื่อเข้าสู่ยุค cookieless มีการปรับตัวอย่างไร? โชคดีที่ Air France เป็นบริษัทที่มี first party data ของตัวเองอยู่แล้ว เรามีข้อมูลของลูกค้าเราทุกคนที่เก็บมาอย่างถูกกฎหมาย และมันมีประโยชน์กับเรมากจริงๆ เราจึงอยากให้ทุกบริษัทมี First Party Data เป็นของตัวเอง มันเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว เราเริ่มทำ Big Data 360 มา4ปีแล้ว ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าพฤติกรรมลูกค้าเป็นอย่างไร เช่นลูกค้าA เริ่มจองตั๋ว, โทรหาคอลเซ็นเตอร์ จองตั๋วเด็ก. หรือไม่พอใจบริการในส่วนไหน. เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงบริการ หรือนำเสนอบริการที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละรายได้ การสร้างrelationship ระหว่างลูกค้าสำคัญมาก เช่นเราสามารถยิงโปรโมชั่นพิเศษให้ loyalty consumer ได้ จะทำให้เค้าอยู่กับเรานานกว่า และการโฆษณาที่ออกไปจากแบรนด์จะไม่กวนใจลูกค้าด้วย. เช่นเค้าเพิ่งซื้อตั๋ว เราจะไม่ยิงเสนอขายตั๋วซ้ำแล้ว

//CJ WORX ACADEMY โรงเรียนสอนดิจิทัลแห่งแรกของไทยที่เปิดโดยดิจิทัลเอเจนซี

เพราะเราอยากให้คนไทยทั้งประเทศติดอาวุธทางดิจิทัล …CJ WORX ACADEMY โรงเรียนสอนดิจิทัลแห่งแรกของไทย จึงเปิดตัวขึ้นเพื่อยกระดับศักยภาพคนไทยให้แข่งกับตัวเอง ติดอาวุธทางปัญญา เตรียมพร้อมก่อนโดน Digital  Disruption  “มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราไม่ได้อยากเก็บความรู้ด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งไว้คนเดียว ได้แชร์สิ่งนี้ให้คนอื่นที่ต้องการความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ได้เข้าใจเหมือนกันกับที่เราได้เรียนรู้ จากประสบการณ์ตลอด 13 ปีที่สั่งสม จากการทำงานจริงในสมรภูมิดิจิทัลทั้งในประเทศและระดับโลก ในนาม CJ WORX” คุณชวนา กีรติยุตอมรกุล Managing Director ของ CJ WORX ผู้ก่อตั้งสถาบัน CJ WORX ACADEMY คุณชวนา อธิบายแนวคิดการเปิด CJ WORX ACADEMY ว่า  เพราะ CJ WORX เป็น Today Agency ดิจิทัลเอเจนซีของวันนี้ ที่มีเป้าหมายให้ภาพรวมของประเทศพัฒนาขึ้น เราจำเป็นต้องติดอาวุธทางปัญญาและพัฒนาศักยภาพคนไทย  ด้วยการเปิดคอร์สองค์ความรู้ด้านดิจิทัล แบ่งปันประสบการณ์ด้านการตลาดออนไลน์ที่ CJ WORX สั่งสมมาตลอดเพื่อให้คนไทยรู้เหมือนที่เรารู้ เตรียมพร้อมก่อนที่จะถูกเทคโนโลยี Disrupt “CJ WORX ACADEMY เป็นสถาบันความรู้ด้านดิจิทัลที่เปิดสอนให้กับบุคคลภายนอกทั่วไป เพื่อยกระดับความรู้ด้านดิจิทัลในไทยให้พัฒนาไปยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนในองค์กรใหญ่

//CJ WORX เผย DMP เวิร์ก! ช่วยลูกค้าโตสวนกระแสโควิด สูงถึง 140%

ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ไล่เรียงตั้งแต่ธุรกิจทุกแขนง ไปจนถึงปัจจัยที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด นั่นก็คือ “พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค” ที่ระลอกนี้ไม่ได้ค่อยๆ เปลี่ยนผันไปตามยุคสมัย แต่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันภายในไม่กี่วัน และจะไม่ใช่แค่สิ่งที่ผ่านพัดแบบเดี๋ยวมาเดี๋ยวไป เพราะการเกิด “พฤติกรรมใหม่” ไม่ว่าจะครั้งไหน ก็จะฝังรากลึกลงไปในชีวิตประจำวันของผู้คน จนกลายเป็น “ความปกติใหม่” หรือที่เราเรียกกันว่า “New Normal” เมื่อทุกอย่างกลายเป็น New Normal หลายสิ่งที่เตรียมจะลอนช์ใหม่ก็ต้องชะลอไว้ เพราะกลายเป็นการสื่อสารแบบเก่าชั่วข้ามวัน หลายธุรกิจจึงเลือกที่จะหยุดแคมเปญทั้งหมดชั่วคราว บ้างก็ลดงบการสื่อสารการตลาดที่มีอยู่ลง ทุกอย่างหยุดนิ่งจนไปถึงขั้นติดลบ และเสี่ยงต่อการถูกดิสรัปต์โดย “New Normal” ไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกัน CJ WORX ดิจิทัลเอเจนซี่สัญชาติไทย ที่โดดเด่นในเรื่อง Creativity และ Data Driven Performance ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แม้ในสถานการณ์วิกฤติ ธุรกิจก็สามารถทะยานเติบโตได้มากถึง 140% โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการโปรโมตใดๆ เพียงต้องจัดลำดับความสำคัญของการสื่อสารใหม่ ให้สอดคล้องกับ New Normal ของผู้บริโภค และกุญแจสำคัญที่ส่งให้ CJ WORXพาลูกค้าไขผ่านวิกฤตินี้ไปได้ก็คือ “DMP” นั่นเอง 3 New Normal หลัง COVID-19 DMP ตอบโจทย์ตรงจุดได้อย่างไร 1. เข้าสู่ยุค ทุกอย่าง “ออนไลน์เต็มรูปแบบ” อย่างที่ทราบกันว่า การเกิด COVID-19

//ทำความรู้จัก ‘RELAY42’ พันธมิตรใหม่ล่าสุดของ ‘CJ WORX’ ที่พร้อมผลักดันเรื่อง DMP สู่การทำงานจริง! [Exclusive Interview]

เมื่อโลกของการทำการตลาดเปลี่ยนแปลงไป เครื่องมืออย่าง DMP หรือ ‘Data Management Platform’ จึงกลายเป็นเครื่องมือที่นักการตลาดยุคใหม่เริ่มหันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งในวันนี้ CJ WORX หนึ่งในดิจิทัลเอเจนซีชั้นนำของไทยที่หากใครติดตามข่าวสารของเอเจนซีนี้จะเห็นเลยว่า เป็นเอเจนซีที่ริเริ่มอะไรใหม่ๆ ก้าวนำใครๆ อยู่เสมอ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของ DMP เช่นกัน โดยร่วมพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางการกับ RELAY42 DMP สัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่ประมวลผล DATA ทุกชนิดแบบ REAL-TIME! พอได้ข่าวแบบนี้ วันนี้ Ad Addict จึงขอไม่รอช้า ขอเข้าไปพูดคุยสุด Exclusive เจ้าแรกกับทางคุณ JAN WILLEM VAN WALSUM ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ RELAY42 กันสักหน่อย ว่าทางคุณยานเอง มีความคิดเห็นและมุมมองต่อตลาดโฆษณาในไทย พร้อมคำแนะนำเบื้องต้นกันสักหน่อย เดี๋ยวผมจะสรุปแต่ละประเด็นที่คุณยานได้มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ เข้าใจง่ายๆ ทีละประเด็นกันตามเนื้อหาด้านล่างได้เลยฮะ รับรองมีประโยชน์ชัวร์! มาเริ่มกันเลย (1) มุมมองที่มีต่อตลาดโฆษณาในไทย จากที่คุณยานได้มีประสบการณ์การร่วมงานกับแบรนด์ในเมืองไทยหลายๆ เจ้า ทำให้พบเห็นสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างของนักการตลาดและนักโฆษณาในไทย โดยหลักๆ แล้ว คุณยานมองว่า โฆษณาไทย ถือว่ามีการเล่าเรื่อง (Storytelling) ที่ดีมากๆ เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ เห็นได้จากผลงานโฆษณาต่างๆ ที่ออกมา และทำให้คนทั่วโลกได้รับชมและชื่นชมกันไปตามๆ กัน แต่ถึงแม้ว่าคนไทยจะมีความสามารถในการเล่าเรื่องและนำเสนอไอเดียครีเอทีฟได้ดีปานใด แบรนด์ส่วนใหญ่กลับให้ความสำคัญกับเรื่องของการซื้อมีเดียในลักษณะของการหว่าน เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนให้มากที่สุด

//เปิดมุมมอง ‘สหรัฐ-จิณณ์’ แห่ง CJ Worx : ทำไมผู้บริโภคจำเป็นต้องเปิดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลบ้าง?

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดูจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลในเรื่องนี้ค่อนข้างสูงมากในช่วงที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิถีชีวิตปัจจุบันหลีกเลี่ยงแพล็ตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ไม่ได้ และก็จำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลบางส่วนไปด้วย จึงเกิดการถกเถียงว่า การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทไอทีต่างๆ นั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ล่าสุด ยังนำมาซึ่งความขัดแย้งเป็นดราม่าร้อนระดับโลก ระหว่าง Apple และ Facebook ซึ่งเกิดขึ้นจากระบบปฏิบัติการ iOS14 ของ Apple ซึ่งเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy ของผู้ใช้ iPhone และ iPad ให้เลือกตั้งค่าเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโฆษณาบนสมาร์ทโฟนที่จะถูกส่งไปยังดีไวซ์ต่างๆ โดยนักโฆษณาและผู้ที่ทำ Targeted Ads จะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เต็มๆ เมื่อกรณีนี้มีผลกับนักการตลาดและนักโฆษณาเราจึงอยากนำเสนออีกมุมมองความเห็นเกี่ยวกับประเด็นร้อนนี้ ว่าจริงๆ แล้วผลจากการปิดกั้นข้อมูลส่วนบุคคลทำให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อตัวผู้บรโภคกันแน่ โดยผู้ที่คร่ำหวดในวงการดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งและแอดเวอร์ไทซิ่งแถวหน้าของเมืองไทย คุณสหรัฐ สวัสดิ์อธิคม Creative Chairman and Founder และ คุณจิณณ์ เผ่าประไพ Chairman and

//เบื้องหลังการทำงานโฆษณาที่ใช้ data ขับเคลื่อนของ CJ WORX

ตอนนี้คำว่า data ก็เหมือนป้ายเชลล์ชวนชิม แปะที่ไหนก็ดูน่าเชื่อถือ เหมือนได้รับการการันตี แต่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกาศตนว่าทำงานกับ data จะมีสักกี่เจ้าที่เข้าใจและ ‘ทำถึง’ จริงๆ แวดวงโฆษณาและการตลาดเป็นอีกหนึ่งสายงานที่ data เข้ามามีอิทธิพลสูง เอเจนซีโฆษณาไทยหลายแห่งเริ่มพัฒนาตัวเอง นำ data มาเจอกับ creativity  CJ WORX คือหนึ่งในเอเจนซีที่เป็นผู้นำด้านนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของสองผู้ก่อตั้ง สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม และจิณณ์ เผ่าประไพ พวกเขานำแพลตฟอร์มจัดการข้อมูล data management platform ที่ชื่อ Relay42 มาใช้กับการทำงานโฆษณาอย่างจริงจัง ปีที่แล้ว CJ WORX เปิดตัวโปรเจกต์ BED ร่วมกับค่ายเพลง What The Duck นำข้อมูลของศิลปินและฐานแฟนคลับมาขับเคลื่อนแคมเปญและการทำคอนเสิร์ต นอกจากนี้ผลงานหลายชิ้นของที่นี่ก็ล้วนใช้ data เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานและได้ผลอย่างยิ่ง นอกจากสหรัฐและจิณณ์ คนที่มีบทบาทมากกับงานนี้คือ น้ำหวาน–ชวนา กีรติยุตอมรกุล Managing Director ที่ดูแลงานเกี่ยวกับ data โดยเฉพาะ การคุยกับชวนาทำให้เรารู้ลึกเกี่ยวกับสนามนี้มากขึ้น ข้อมูลไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่มันคือเครื่องมือสานสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่เราเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์เริ่มมีโฉมหน้าเปลี่ยนไป นี่คือการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่นักสร้างสรรค์ควรรู้ ขอเชิญชมสิ่งที่น่าสนใจที่เรียกว่าโฆษณา ภายใต้ยุคแห่ง data ที่ขับเคลื่อนโลกอยู่ ณ วินาทีนี้ คุณเคยบอกว่าตอนนี้ CJ WORX ไม่ได้ทำงานกับ data อย่างเดียว เรามองว่าการทำงานกับ data คือการสร้างความสัมพันธ์ ถ้าคิดว่า data ถูกเอาไปขายเป็นเงินได้ มันแค่นั้น แต่ถ้าเราคิดว่า data คือ relationship economy เรื่องนี้จะใหญ่กว่า ยิ่งเรารู้จักคนของเรามากแค่ไหนมันทำให้เราใช้จ่ายเพื่อรักษาความสัมพันธ์นั้นถูกลงเรื่อยๆ ถ้าหวานรู้ว่าแฟนชอบดอกกุหลาบสีแดงก็จะไม่มีวันไปซื้อดอกกุหลาบสีขาว แล้วถ้ารู้ว่าแฟนของหวานชอบดอกกุหลาบสีแดงในทุกๆ วันพฤหัสฯ เพราะทุกพฤหัสฯ เขาทำงานหนัก หวานก็จะไม่มีวันซื้อดอกกุหลาบสีขาวให้เขาในวันนั้นในเชิงของนักการตลาดหรือคนโฆษณา ยิ่งเรามี relationship กับคนที่รับสารมากเท่าไหร่ คนจะรู้สึกว่าโฆษณารุกล้ำชีวิตหรือ intrusive น้อยลง เพราะมันกลายเป็นโฆษณาที่รู้ใจ สมมติว่าเรารู้ว่าวันนี้ลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์รถยนต์แบรนด์หนึ่ง แล้วคลิกรูปรถสีน้ำเงิน ทำไมเราต้องไปซื้อโฆษณาแล้วทำรูปรถสีแดงด้วย ในเมื่อข้อมูลกำลังบอกว่าลูกค้าชอบสีน้ำเงิน เรื่องนี้ต่างหากที่เอเจนซีต้องใช้ให้เป็น เราต้องรู้ว่าคนที่เขารับรู้โฆษณาชอบอะไร อยู่ที่ไหน เราจะได้ใช้โฆษณานั้นเพื่อสร้าง relationship กับเขาไปเรื่อยๆ ให้เป็นโฆษณาที่ถูกกาลเทศะ เสนอสิ่งที่เขาอยากได้จริงๆ คุณเน้นสร้างสัมพันธ์กับใครก่อนระหว่างแบรนด์กับลูกค้า เราเอา data มาสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าที่เป็น end consumer ก่อน เราเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่เราสร้างกับลูกค้าแล้วทำให้ยอดขายของแบรนด์ดีขึ้นจะทำให้เรามี relationship ยาวๆ กับแบรนด์ การใช้ data ในงานโฆษณาเปลี่ยนวิธีการทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ของคุณบ้างไหม หวานคิดว่าความคิดสร้างสรรค์ยังเป็นสิ่งที่ AI แทนมนุษย์ไม่ได้ แล้วก็ไม่มีวันจะแทนได้ แต่ data จะบอกว่าความคิดสร้างสรรค์ของเราถูกชอบโดยคนหมู่มากหรือเปล่า เวลาเราคิดว่ามีกลุ่มลูกค้าเซกเมนต์หนึ่งใหญ่ๆแต่พอใช้ data จะรู้ว่าจริงๆ แล้วภายใต้กลุ่มนั้นมันมีซับคัลเจอร์อีกเยอะเลย ถ้าไม่ใช้ เราจะไม่มีวันรู้เลยว่าซับคัลเจอร์เล็กๆ พวกนั้นคือใคร เราจะได้รู้จักลูกค้าเป็นรายคน ไม่ใช่ sample size เหมือนสมัยก่อน ทุกคนในห้องนี้เป็นออฟฟิศเวิร์กเกอร์ แต่พวกเราไม่เหมือนกันเลย ก่อนหน้าที่จะเอา Relay42 เข้ามา CJ WORX ทำงานกับ data ยังไง เราใช้วิธีการค้นหาแบบ interest factor ในเฟซบุ๊ก ก่อนอื่นเราจะตั้ง assumption ที่มาจากสมมติฐาน ถ้าจะปล่อยผลิตภัณฑ์ทางการเงินสักตัวที่เป็นประกัน กลุ่มลูกค้าที่เราจะต้องไปเจอคือใครบ้าง ก็จะได้ออกมากรุ๊ปหนึ่ง สมมติว่ามี 10 ล้านคนที่สนใจเรื่องประกัน จากนั้นดูว่าคนที่กำลังดูประกันช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีเท่าไหร่เป็นใคร มันมีตัวเลขที่เป็น assumption ของเราบวกกับที่เราต้องไปหาในเฟซบุ๊ก แต่วันนี้สิ่งที่เราทำงานร่วมกับDMP คือการตามพฤติกรรมเป็นรายคน ดูว่าคนคนนี้เข้ามาในเฟซบุ๊กแล้วเขาคลิกไหม จากนั้นเขาไปไหนต่อ มันเหมือนการเสียบปลั๊ก ถ้าเรามี first party data ซึ่งคือข้อมูลที่เราเป็นเจ้าของ เช่น CRM ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กของเราเอง จากนั้นมันมี second party data  คือ data ที่เป็นพาร์ตเนอร์กับเรา ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ CheckRaka.com สมมติว่าวันนี้หวานเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าหนึ่ง เราอยากต่อ API กับเช็กราคา เพราะหวานรู้ว่าคนที่จะซื้อตู้เย็นเขาจะไปหาข้อมูลจากเช็กราคาก่อนเพื่อเปรียบเทียบราคา อันที่สาม third party data มันคือข้อมูลที่เราไปซื้อมา ซึ่งอาจเป็นเบอร์โทรศัพท์จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ หรืออีเมลจากผู้ให้บริการบัตรเครดิต ไม่ใช่ data ที่เราเป็นเจ้าของ DMP ทำหน้าที่ ‘plug’ ข้อมูลทุกอย่างที่เรามีเข้าไป แล้วก็output เป็นโฆษณาตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาบนยูทูบ, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์, แบนเนอร์ ที่ไหนก็ได้ วิธีทำงานมีแค่นี้เอง มันบอกแม้กระทั่งว่าต้องดึงโฆษณาตัวนี้ลงแน่นอนเพราะไม่มีใครไปต่อเลย จากที่เราเข้าใจว่าลูกค้าจะคลิกโฆษณาบนเฟซบุ๊กตลอด วันนี้พวกเขาไม่คลิกบนเฟซบุ๊กเลยแต่คลิกบนทวิตเตอร์ต่างหาก เราก็เปลี่ยนแผนไปอยู่บนทวิตเตอร์แทน การทำงานกับข้อมูลมักจะต้องระวังเรื่องการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว คุณจัดการมันยังไง ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดต้องขออนุญาตเจ้าของก่อนว่ายินยอมให้ใช้หรือไม่ ไม่งั้นจะผิดกฎหมาย หวานกำลังทำอีกโมเดลหนึ่ง คือเราอยากให้คนที่ให้ข้อมูลได้เงินคืน ในเมื่อคุณเป็นคนยินยอมให้ข้อมูลเราไปใช้ ทำไมคุณจะไม่ได้รับเงินคืนจากทุกๆ การซื้อ-ขายของงานโฆษณานั้น ถ้าคุณนั่งอยู่เฉยๆ วันๆ ไม่ต้องทำอะไร แต่มีข้อมูลเยอะ คุณก็จะเป็นเหมือนอินฟลูเอนเซอร์ที่มีข้อมูลคนอยู่ประมาณล้านคน สมมติว่าทุกๆtransaction ของ data ที่วิ่งกลับจ่ายให้ 5 สตางค์ หวานว่ามันก็เยอะนะ เราควรจะเคารพคนที่ให้ data แปลว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ด้วย คุณไปเจอ Relay42 ได้ยังไง กว่าจะได้ Relay42 มา หวานต้องวิเคราะห์ DMP ในโลกนี้ว่าตัวไหนดีบ้าง ยกตัวอย่างเช่น Salesforce, Adobe โน่นนี่ เต็มไปหมดเลย เราดูว่าสิ่งที่ตอบโจทย์ในการสร้างความสัมพันธ์หรือการทำการตลาดคืออะไรเอาปัจจัยนั้นมาวิเคราะห์ว่าอะไรตอบโจทย์มากที่สุด การทำงานของเราในฐานะนักโฆษณาเราจะพึ่ง CRM data อย่างเดียวไม่ได้ เพราะมันคือข้อมูลของลูกค้าที่เรามีอยู่แล้ว แต่หน้าที่ของนักโฆษณาคือหา audience ใหม่ ก็เลยต้องเฟ้นหา DMP ที่ตอบโจทย์กับงานโฆษณามากที่สุด เราคิดว่าเอเจนซีโฆษณาวันนี้ต้องตอบโต้ลูกค้าแบบเรียลไทม์ ถ้าคุณเข้ามาดูเว็บไซต์ กดดูรถยนต์สีฟ้าพอไปเฟซบุ๊กต้องเห็นโฆษณาที่พูดเกี่ยวกับข้อดีของรถยนต์สีฟ้า นี่คือเรียลไทม์ ความเร็วในการตอบสำคัญขนาดนั้นเลยเหรอ ลูกค้าที่เข้ามาดูรถยนต์ ณ เวลานี้เขาก็อ่านข้อมูลคู่แข่งเหมือนกัน ถ้าเราไม่เรียลไทม์วันรุ่งขึ้นเขาสามารถเดินเข้าโชว์รูมคู่แข่งได้เลย หรือสามารถคลิกไปทดลองขับกับคู่แข่งได้เดี๋ยวนี้เลย เพราะเราไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว เครื่องมือแบบนี้แพงมาก แต่คุ้ม หนึ่ง คุ้มสำหรับการเรียนรู้ของเรา สอง นอกจากได้เรียนรู้แล้วยังประหยัดไปหลายเท่ามาก ในระยะยาวโลกเราจะเปลี่ยนไป แปลว่าต้องลงทุนตอนนี้เพื่อที่จะไปดักรอการเปลี่ยนแปลงอีก 2-3 ปี ถ้าทำอีกสามปีไม่ทัน มันมีเรื่องความคุ้มที่เรียกว่าเป็น opportunity loss ด้วยเหมือนกัน มียุคหนึ่งที่ above the line เอเจนซีไม่ยอมเปลี่ยนตัวเองไปเป็นดิจิทัล แล้ววันนั้นเขาหยุดโต วันนี้ถ้าดิจิทัลเอเจนซีไม่เปลี่ยนตัวเองไปเป็น data เราก็จะโดน disrupt แบบเดียวกับเอเจนซีที่ปิดตัวไป ปัญหาที่ทำให้เอเจนซีไม่เปลี่ยนตัวเองคืออะไร หวานว่าเขาใหญ่ไปที่จะเปลี่ยน แม้กระทั่ง CJ WORX เรามีพนักงานอยู่ 250 ชีวิต การที่จะย้ายไปเป็นเอเจนซีแบบ data-driven มันทำกันอยู่แค่ 2-3 คนเท่านั้นเอง ตอนเอา DMP เข้ามา คนในบริษัทคุณเชื่อไหม ไม่ มันเริ่มจากหวานไปอเมริกาปีละหน ไปเพื่อสูดอากาศว่าคนที่อยู่กับ data หน้าตาเป็นยังไง แล้วเราก็เอาฟีลลิ่งนั้นกลับมาเพื่อที่จะเล่าให้ทุกคนฟัง แต่มีแค่ 10

CJ WORX ครีเอทีฟเอเจนซีเจ้าแรกใช้ DMP บุกตลาด DATA ลดต้นทุนโฆษณา

ใครก็พูดถึง DATA ใครก็ใช้ DMP (Data Management Platform) คลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บทุกพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ครีเอทีฟเอเจนซีโฆษณาเจ้าของแรกของไทย CJ WORX รุกตลาด DATA ล่าสุดใช้ DMP บุกตลาด DATA ขยายฐานให้ลูกค้าระดับองค์กรเพิ่มมากขึ้น เผยผลลัพธ์จากการใช้งานสร้างสรรค์ร่วมกับ DMP กับธุรกิจในด้านการเงิน ลดงบประมาณในการซื้อโฆษณาได้มากเท่าตัว และใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง DMP ที่แตกต่างเป็นอย่างไร ในเมื่อหลายๆ เจ้าก็พูดถึง DMP แต่ DMP ที่ใช้เหมือนหรือแตกต่างกัน คุณชวนา กีรติยุตอมรกุล General Manager/Strategic Planning Director ของ CJ WORX บอกว่า DMP ที่ดี ทรงประสิทธิภาพนั้น จะต้องเป็น IJO Platform (Intelligent Journey Orchestration Platform)